โทร: 0869892441 โทรสาร: 032-692525
ยินดีต้อนรับสู่มูลนิธิฟื้นฟู
ทรัพยากร ทะเลสยาม
มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม
เกี่ยวกับเรา
เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ณ เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทอดพระเนตร พื้นที่ โครงการฯ โดยมีคณะสำรวจจากกองทัพเรือภาคที่ 1 ได้ทำการสำรวจพื้นที่ทางทะเล และ สภาพปะการังใต้ทะเลของเกาะทะลุ พบว่ายังมีแนวปะการังที่สมบรูณ์ และสวยงาม อยู่มากเมื่อเทียบกับแหล่ง อื่นๆในทะเลอ่าวไทยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้พัฒนาเกาะทะลุแล ะพื้นที่โดยรอบภายใต้แนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดปร ะโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่และดำรงไว้ซึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติอันสมบรูณ์ให้อยู่คู่ท้องถิ่นไทยตลอดไป
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หรือ (อพ.สธ.) ร่วมกับ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม และพันธมิตรอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัญและเอกชนเพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกจิตสำนึกสร้างแรงบัลดาลใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนให้รู้จักทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตัวเอง ร่วมเรียนรู้ว่าธรรมชาติมีความสัมพันธ์และผูกพันกันอย่างไร ส่งเสริมแนวคิด “การช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ คือ การรักชาติ รักแผ่นดิน”
โครงการกัปตันบางสะพานคืออะไร?
โครงการกัปตันบางสะพาน เป็นโครงการที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พัฒนากระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ความรู้ของโครงการอนุรักษ์ในพื้นเป็นฐานในการศึกษาผ่าน ”กระบวนการค่าย” ที่มีตัวแทนจากหน่วยงานที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ผ่านกิจกรรมการหาคำตอบด้วยกระบวนการแก้ปัญหา กิจกรรมเชิงสาธิต และกิจกรรมเชิงทดลอง ส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาศักยภาพของตัวเองรู้จักสังเกต รวมกลุ่มกันวิเคราะห์ปัญหา อย่างไม่มีอัคติฝึกความเป็นกลางและการมีจิตสาธารณะควบคุมความคิดที่จะนำมาใช้กับ “การศึกษาโดยโครงงาน” ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันตามขั้นตอนการเรียนรู้ได้แก่ เลือกหัวข้อและเหตุผลที่จะศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา กำหนดวิธีการศึกษาหรือแผนงานที่จะนำไปสู่ “การลงมืออนุรักษ์” พื้นที่โครงการด้วยวิธีต่างๆ นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บอย่างถูกต้องมาวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผลและนำมาจัดทำ “การนำเสนออย่างมืออาชีพ” เพื่อสะท้อนให้หน่วยงานหรือองค์กรที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นๆ นำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการต่อไป พร้อมทั้งจัดเวทีให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงผลงานผ่านทางสื่อวัสดุของท้องถิ่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อดิจิตอล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตระหนักเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะการแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศชาติ